May 28, 2010

'ไทยจะไม่เหมือนอิรัก'มุมมอง'ไมเคิล ยอน'นักข่าวสงคราม

ไมเคิล ยอน

ภาพประกอบข่าว

คมชัดลึก : ไม่ว่าภาพเมืองไทยในวันที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไรในสายตาประชาคมโลก ทว่าในฐานะนักข่าวสงครามผู้คร่ำหวอด "ไมเคิล ยอน" ผู้ที่ "นิวยอร์ก ไทม์ส" บอกว่าเป็นนักข่าวอิสระที่ฝังตัวอยู่ในสมรภูมิรบในอิรักและอัฟกานิสถานมากกว่าสำนักข่าวใดๆ วันนี้เราจึงควรเงี่ยหูฟังความเห็นของเขา ?!!

ไมเคิลให้สัมภาษณ์ "สุทธิชัย หยุ่น" บรรณาธิการเครือเนชั่น เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งในเมืองไทยอย่างถึงแก่น และนี่คือส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์

ไมเคิลจับจ้องปัญหาการเมืองในประเทศไทยระหว่างทำข่าวอยู่ที่อัฟกานิสถานมานานราวปีครึ่ง ทั้งจากภาพข่าวและเพื่อนสนิทที่เป็นคนไทย เขาเริ่มวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่ง 10 วันก่อนปฏิบัติการกระชับวงล้อมเขาก็บินมากรุงเทพฯ ได้เห็นใบหน้าของผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ไมเคิลรู้สึกว่าส่วนใหญ่ที่พบมีความเป็นมิตร แต่มีบางคนที่มีแววตาที่เขาเคยเห็นในสงคราม คือ พร้อมจะสู้รบ

"โดยเฉพาะคนเสื้อดำ เขาดูเหมือนเคยได้รับการฝึกฝน พวกเขาดูเหมือนเป็นทหารสู้รบ ปฏิกิริยาพวกเขาเวลาได้ยินเสียงปืน แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ มีความกล้า พวกเขาไม่วิ่งหนี แต่กลับเดินหน้าเข้าใส่ พวกเขามีความเป็นมืออาชีพสูง"

ไมเคิลยอมรับว่าเขาไม่ได้พูดคุยกับกลุ่มคนเสื้อดำโดยตรง ไมเคิลใช้คำว่า คนกลุ่มนี่จะออกมาก็ต่อเมื่อจะลงมือทำอะไรสักอย่าง และมีลักษณะของคนที่จะก่อความรุนแรง อย่างไรก็ดี ไมเคิลไม่คาดคิดว่าความรุนแรงจะขยายวงไปถึงการเผาบ้านเผาเมือง

พร้อมกันนี้ ไมเคิลเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทยกับอิรักว่า ความรุนแรงที่เมืองไทยไม่เท่าอิรักและอัฟกานิสถาน เพราะคนไทยส่วนใหญ่รักสงบ ประเทศไทยไม่น่าเกิดสงคราม แต่มันก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดขึ้นมันก็แย่มาก ทำลายบ้านเมืองและเด็กๆ ทำให้ผู้คนหวาดกลัว

"สิ่งที่เห็นได้จากสงครามอิรักและอัฟกานิสถาน คือ ตอนแรกๆ พวกนักสู้ทั้งหลายจะยังไม่เก่า เขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ จึงสร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขาเป็นมืออาชีพมากขึ้น มีความรู้เรื่องอาวุธและยุทธวิธีมากขึ้น การโจมตีรุนแรงขึ้น มีคนตายมากขึ้น และเกิดบ่อยขึ้น สิ่งที่ต้องพึงระลึกไว้ คือ ตอนแรกพวกเขาจะยังไม่เก่ง แต่ต่อไปพวกเขาจะเก่งขึ้น จึงสำคัญมากที่ต้องปราบให้ได้"

ท่อนหนึ่งของบทสนทนา ไมเคิล ยอน ให้ความสำคัญกับเรื่องดึงชาวบ้านเข้ามาเป็นพวกแจ้งข้อมูลข่าวสาร เขามองเห็นจากทั้งสองที่คือ ตราบใดที่ชาวบ้านให้ความร่วมมือแจ้งข้อมูลให้กองทัพก็จะได้รับชัยชนะ ตราบใดที่ตำรวจทหารปฏิบัติตัวดี การร่วมมือจากชาวบ้านเป็นสิ่งสำคัญทำให้จับกุมกลุ่มก่อการร้ายได้ ตรงกันข้าม เวลาใครทำไม่ดีชาวบ้านจะต่อต้าน แม้แต่คนที่เคยศรัทธาในตัวพวกเขา จึงสำคัญมากที่ทหารและตำรวจต้องทำตัวดีอยู่เสมอ

สำหรับเมืองไทยแล้ว ไมเคิล บอกว่า เขาไม่เห็นการต่อต้านทหารในหมู่คนทั่วไป ยกเว้นในกลุ่มคนเสื้อแดง คนธรรมดาให้ความเคารพทหาร พวกเขาพูดถึงทหารในทางที่ดี และเท่าที่เฝ้าดูทหารตำรวจปฏิบัติกับชาวบ้านอย่างให้เกียรติและอย่างมืออาชีพ

ไมเคิล ยอน เคยเป็นทหารในหน่วยรบพิเศษกรีนแบเรต์ของกองทัพสหรัฐ ก่อนจะมาเป็นนักเขียนอิสระ เมื่อปี 2006 เขาออกจากสงครามอิรักไปอัฟกานิสถาน คาดหวังว่าจะได้เห็นชัยชนะ แต่กลับเป็นตรงกันข้าม สหรัฐกำลังจะแพ้สงคราม เขากลับมาเขียนรายงาน 12 ชิ้น โดยพูดถึงเรื่องการให้ข้อมูลของชาวบ้าน ต้องคอยดูว่าชาวบ้านให้ความร่วมมือหรือไม่ ข้อมูลที่คนกลุ่มนี้ให้กองทัพมากขึ้นหรือน้อยลง ถ้าได้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นจะเป็นตัวชี้ว่ากำลังไปได้ดี แต่ถ้าข้อมูลน้อยลง นั่นแสดงว่ากำลังแย่มาก และตอนนั้นชาวบ้านให้ข้อมูลทหารน้อยมาก

"นั่นคือสัญญาณเตือนภัย แสดงว่าศัตรูเป็นมืออาชีพมากขึ้น ผู้คนไม่เชื่อใจเรา แต่พอปี 2007 กองทัพปรับกลยุทธ์ใหม่ คนเริ่มให้ข้อมูลเยอะขึ้น ยอดทหารตายลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว"

กลับมาที่เมืองไทย ไมเคิลยังมีความหวังกับสถานการณ์ที่นี่ เขาเชื่อว่าเมืองไทยสามารถฟื้นฟูได้ รัฐบาลไทยกระทำอย่างระมัดระวัง และเชื่อว่าคนไทยไม่ต้องการสงคราม มีคนไม่กี่คนเท่านั้นที่ต้องการ และถ้าคนให้ข้อมูลเกี่ยวกับคนไม่กี่คนนี้ แล้วใช้วิธีสันติภาพในการดำรงชีวิต เชื่อว่าจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าได้ ส่วนภาพที่สื่อต่างชาติเสนอออกไปว่าเมืองไทยลุกเป็นไฟนั้น ไมเคิลไม่เห็นด้วย แม้จะมีการปล้นสะดมด้วย แต่ก็ไม่ใช่ทุกพื้นที่ ฉะนั้นสำคัญมากที่ต้องมีการรายงานอย่างเป็นกลาง เพื่อให้คนเข้าใจเหตุการณ์เฉพาะที่ชาวต่างประเทศปลอดภัยในเมืองไทย ชาวต่างชาติไม่ได้เป็นเป้า ยกเว้นนักข่าว

การที่สื่อมวลชนถูกยิงเสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 5 คน ไมเคิลมองว่าเยอะมากในช่วงเวลาอันสั้นเช่นนี้ ?!!
เมื่อถามว่า ผู้สื่อข่าวต่างชาติคนอื่นเป็นกลางไหม ? ไมเคิลตอบทันทีว่า...

"ทุกคนไม่เป็นกลาง ผมก็ไม่เป็นกลาง ผมเข้าข้างคนไทย ผมก็ต้องยอมรับ ไม่ได้เข้าข้างเหลืองหรือแดง แต่เข้าข้างสันติภาพ ผมหวังว่าประเทศไทยจะไม่มีสงคราม และหวังว่าเมืองไทยจะดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่เคยเป็น ประเทศไทยก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปีที่ผมมาเมืองไทย ผมหวังว่าจะเป็นอย่างนั้นไปเรื่อยๆ และผมก็หวังว่าผมจะไม่ต้องเป็นผู้สื่อข่าวสงครามในประเทศไทย เพราะมันคงเป็นเรื่องเศร้ามาก"

งานเขียนของ ไมเคิล ยอน ถูกนำไปเผยแพร่ทั่วโลก โดยสำนักข่าวต่างๆ เป็นแบบให้ฟรี เพราะเขาได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากการบริจาคของผู้อ่าน โดยทำมานาน 5-6 ปีแล้ว ในจำนวนนี้มีผู้บริจาคเป็นคนไทยด้วย เพราะคนส่วนใหญ่ต้องการได้ยินการรายงานข่าวที่มีอิสระจริงๆ ส่วนใหญ่จะคลุกคลีอยู่ในสมรภูมิรบอิรัก อัฟกานิสถาน และฟิลิปปินส์ ด้วยเหตุนี้จึงมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานข่าวสงครามมาก

พร้อมกันนี้ ไมเคิลได้ใช้ประสบการณ์ตรงแนะนำสื่อมวลชนไทยในสถานการณ์รุนแรง ไม่ว่าจะฝึกฝนหรือมีประสบการณ์อย่างไรก็อันตรายอยู่ดี บางทีเขายกให้เป็นเรื่องของดวงเพรียวๆ บวกกับวิธีหลบหลีกที่ดี อย่างเวลายิงกันเขาจะไม่หลบหลังกำแพง เพราะเวลาอยู่ติดกำแพงกระสุนจะทะลุได้ แต่ให้อยู่ห่างออกมาเล็กน้อย ใส่หมวกกันน็อกแบบทหาร สวมเสื้อเกราะกันกระสุน ที่สำคัญให้พกยาปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยเฉพาะผ้าอนามัยแบบสอด เวลาโดนยิงจะได้ยัดเข้าไปในรูกระสุนเป็นการห้ามเลือดได้ชะงัด

ไมเคิล บอกด้วยว่า การตามทหารไปทำข่าวบางทีก็มีอันตรายมากกว่ายืนอยู่ตามลำพังบนท้องถนน เขายืนอยู่คนเดียวที่อัฟกานิสถานไม่เคยถูกยิง แต่เวลาอยู่กับทหารโดนโจมตีไม่รู้กี่ครั้ง ทั้งระเบิด ปืน และอาร์พีจี ทุกรูปแบบ เวลาเข้าไปในสถานการณ์ใหม่ สถานที่ใหม่ การผ่านมาหลายที่ไม่ได้หมายความว่าจะเข้าใจสถานการณ์นั้นๆ ฉะนั้นต้องถามทหารทันทีว่า ศัตรูโจมตีแบบไหน และใช้อาวุธอะไร

"การไปกับทหารแม้อันตราย แต่เราได้รู้ว่าแผนการของเขาคืออะไร ได้เห็นทหารของเราปฏิบัติต่อคนอื่นยังไง คนให้ข้อมูลพวกเขาไหม คุณไม่สามารถเห็นสิ่งเหล่านี้นอกจากจะไปกับทหาร อย่างในเมืองไทยมีประโยชน์หลายอย่าง หากอยู่กับเจ้าหน้าที่คุณก็จะได้ภาพอย่างหนึ่ง อีกวันไปอยู่กับเสื้อแดงก็จะเห็นภาพอีกแบบ สิ่งสำคัญคือ ได้คุยกับคนทั่วไปด้วยว่าเขาคิดอะไรกัน สำคัญมากว่าควรมองหลายๆ มุม ถ้าทหารที่คุณอยู่ด้วยตัดสินใจทำอะไรบางอย่างที่ไม่ดี"

ท้ายที่สุดแล้ว ไมเคิลภาวนาว่า ประเทศไทยจะไม่ใช่เมืองหลักสำหรับการรายงานข่าวสงครามของเขา เพราะจากนี้ไปอีกสักระยะเขาจะไม่ทำเรื่องสงคราม และคิดจะลงหลักปักฐานอยู่ในเมืองไทย

"ไทยจะไม่เป็นเหมือนอิรักและอัฟกานิสถาน ?!!" ไมเคิล ตอบสุทธิชัย เมื่อถามว่า สถานการณ์ในไทยกำลังจะเป็นเหมือนสองประเทศนี้หรือไม่

"ผมไม่รู้สึกว่านี่คือการดำเนินไปของสงคราม แต่อาจกำลังเริ่มต้นขึ้น สามารถป้องกันได้ ด้วยการที่คนไทยไม่เข้าสู่สงคราม เวลาได้ข้อมูลเกี่ยวกับใครก็ตามที่ทำอะไรไม่ดีให้แจ้งเจ้าหน้าที่ เมื่อทหารรู้คนเหล่านี้แม้ไม่ถูกจับก็ไม่สามารถทำอะไรได้ พวกเขาจะหนี จะกลัวการถูกจับ ข้อมูลที่คนจะส่งให้รัฐบาลสำคัญมาก"

ที่สำคัญนักข่าวผู้คร่ำหวอดการรายงานข่าวสงครามมองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคนไทยได้เรียนรู้ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นได้ ยอดผู้เสียชีวิตประมาณ 80 คน มีคนเจ็บอีกมาก ทรัพย์สินเสียหาย รวมถึงรายได้จากการท่องเที่ยวและอื่นๆ ส่วนเรื่องภาพลักษณ์ของประเทศนั้น ไมเคิลยืนยันว่า เขารู้จักเมืองไทยและคนไทยดี ภาพลักษณ์เสียหาย แต่ฟื้นฟูได้ ต้องให้นักท่องเที่ยวกลับเข้ามาใหม่ ให้พวกเขาเห็นและพูดกันเองว่าปลอดภัยแล้วที่เมืองไทย

"คนไทยควรเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง" ไมเคิล กล่าวทิ้งท้าย

4 comments:

Lisa MarK said...

I don't know If I said it already but ...This blog rocks! I gotta say, that I read a lot of blogs on a daily basis and for the most part, people lack substance but, I just wanted to make a quick comment to say I'm glad I found your blog. Thanks,:)A definite great read. Business Loans

Unknown said...

I dont know what to say. This blog is fantastic. Thats not really a really huge statement, but its all I could come up with after reading this. You know so much about this subject. So much so that you made me want to learn more about it. Your blog is my stepping stone, my friend. Thanks for the heads up on this subject.
business cash advance

bad credit loans for business said...

Very nice post. Information posted here is very helpful. I like the blog very much. Thanks to the admin of this blog.

Small Business Loans said...

Interesting content, finance for starting small business is very important, I find this share very crucial because I like run my enterprise soon and I'm sure it will obviously be complicated.